หลายท่านคงเคยได้ยินข่าวที่ตำรวจออกหมายจับผู้กระทำความผิดตามกฎหมายจราจรแล้วไม่ไปชำระค่าปรับ โดยพบว่ามีใบสั่งจำนวนมากที่ไม่ได้รับการชำระ และยังคงกระทำความผิดซ้ำเดิมอยู่ กองบัญชาการตำรวจนครบาล จึงมีมาตรการที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 มิ.ย.2565 เป็นต้นไป โดยจะตรวจสอบย้อนหลังไป 1 ปี ดูใบสั่งที่ยังไม่ขาดอายุความ และผู้กระทำความผิดที่มีใบสั่งจำนวนมากจะถูกดำเนินการตามกฎหมาย รู้แบบนี้แล้วมาเช็กค่าปรับใบสั่ง ผ่านออนไลน์กันเถอะ หากไม่จ่ายค่าปรับ ตำรวจจะออกใบเตือน 1 ครั้ง หมายเรียก 2 ครั้ง ก่อนขอศาลออกหมายจับ และการถูกออกหมายจับในคดีอาญาจะมีประวัติขึ้นในฐานข้อมูลตำรวจ แบบนี้เสียประวัติแย่เลย
eTicketวิธีลงทะเบียนเพื่อตรวจสอบใบสั่งออนไลน์ก่อนอื่นต้องเตรียมหลักฐานพร้อมกรอกข้อมูล ดังนี้ บัตรประจำตัวประชาชน ใบอนุญาตขับขี่ หรือ เลขทะเบียนรถ
1. ให้เข้าไปที่เว็บไซต์ ใบสั่งจราจรออนไลน์สำหรับประชาชน (ptm.police.go.th)
2. หากยังไม่ได้ลงทะเบียนให้เลือกที่ ลงทะเบียนใช้งาน กรอกข้อมูลตามแบบฟอร์ม
ลงทะเบียนข้อมูลการลงทะเบียน
เลขประจำตัวประชาชน
วัน/เดือน/ปีเกิด
ชื่อ
นามสกุล
Laser ID (เลขด้านหลังบัตรประจำตัวประชาชน)
กดปุ่มถัดไป
ข้อมูลรถที่ครอบครอง / ข้อมูลใบอนุญาตขับขี่ (กรุณาระบุข้อมูลอย่างใดอย่างหนึ่ง)
ในส่วนนี้ถ้าเราเป็นเจ้าของรถควรเลือก ข้อมูลรถที่ครอบครอง แต่ถ้าเราเป็นเพียงคนขับรถไม่ใช่เจ้าของก็เลือก ข้อมูลใบอนุญาตขับขี่
ข้อมูลรถที่ครอบครอง (ใช้ข้อมูลจากป้ายทะเบียนรถ)
ประเภทรถ
หมวดตัวอักษร
หมวดตัวเลข
จังหวัดของป้ายทะเบียนรถ
ข้อมูลใบอนุญาตขับขี่ (ใช้ข้อมูลจากใบอนุญาตขับขี่)
ชนิดใบอนุญาต
ประเภทใบอนุญาต
เลขที่ใบอนุญาต
วันที่ออกใบอนุญาต
วันหมดอายุ
กดปุ่มถัดไป
ลงทะเบียน3
ตรวจสอบข้อมูลและลงทะเบียน
อีเมลสำหรับลงทะเบียน
กดถัดไป
ตั้งรหัสผ่านเพื่อเข้าสู่ระบบ
เข้าไปเช็คเมล์เอารหัสยืนยันเพื่อนำมาตั้งรหัสผ่านในการลงทะเบียน
validation code นำรหัสที่ได้รับทาง email มาใส่เพื่อยันยัน
รหัสผ่าน
ยืนยันรหัสผ่าน
กด ลงทะเบียน
อ่านและยอมรับเงื่อนไข
เงื่อนไขและคำแนะนำในการเข้าใช้บริการเว็บไซต์ค่าปรับจราจรออนใลน์สำหรับประชาชน
เลือกที่ยอมรับข้อความข้างต้น แล้วกด ยืนยัน
3. เข้าสู่ระบบด้วย เลขประจำตัวประชาชน และรหัสผ่าน
4. ตรวจสอบใบสั่ง โดยการกดปุ่มค้นหา ไม่จำเป็นต้องกรอกข้อมูลใดเพิ่มเติมก็ได้ระบบจะค้นหาใบสั่งย้อนหลังไป 1 ปี
ค้นหาใบสั่งหากระบบแจ้งว่าไม่มีใบสั่งในระบบ ก็สบายใจได้เลยรอดแล้ว แต่ถ้ามีใบสั่งให้กดเข้าไปดูรายละเอียดจากเลขที่ใบสั่ง หากแน่ใจแล้วว่าเป็นการกระทำผิดจริงก็ดำเนินการจ่ายเงิน
ใบสั่งออนไลน์วิธีจ่ายเงินใบสั่ง
วิธีแรก จ่ายออนไลน์ ด้วยบัตรเครดิต ผ่านหน้าเว็บไซต์ของระบบได้เลย โดยการกดเลือกใบสั่ง และกดชำระเงิน
วิธีที่สอง จ่ายออนไลน์ ด้วยแอปพลิเคชัน "Krungthai NEXT" เลือกเมนูจ่ายบิล พิมพ์ค้นหา "สำนักงานตำรวจแห่งชาติ" กรอกข้อมูลเลขที่ใบสั่ง และหมายเลขบัตรประชาชน 13 หลัก กดตรวจสอบ จะทราบจำนวนเงินที่ต้องจ่าย กดชำระเงินเป็นอันเสร็จสิ้น
ช่องทางอื่น ๆ ให้จดเลขที่ใบสั่ง หรือพิมพ์หน้ารายละเอียดใบสั่งออกมา แล้วไปจ่ายได้ที่ แต่ในระบบไม่มีบาร์โค้ดให้ที่ต้องใช้บาร์โค้ดจ่ายอาจจะไม่สามารถทำได้
- ตู้ ATM และตู้ ADM กรุงไทย ขั้นตอนคือ เลือกเมนู "ค่าปรับจราจร" เลือกบัญชีเงินออมทรัพย์ ใส่หมายเลขที่ใบสั่ง
- เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา
- เคาน์เตอร์เซอร์วิซ (Counter Service) เช่น เซเว่น อีเลฟเว่น.
- ที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่งทั่วประเทศ
- สถานีตำรวจทุกแห่งทั่วประเทศ
โต้แย้งใบสั่งหากมีข้อโต้แย้งสามารถยื่นคำขอได้ ดังนี้
วิธีโต้แย้งใบสั่ง
1. ดาวน์โหลดและพิมพ์เอกสารแบบฟอร์มโต้แย้งใบสั่ง
2. กรอกรายละเอียดการโต้แย้งใบสั่ง ตามข้อเท็จจริง
3. ค้นหาที่อยู่สถานีผู้ออกใบสั่งได้ที่เว็บไซต์สำนักงานตำรวจแห่งชาติ - ข้อมูลสถานีตำรวจ (royalthaipolice.go.th)
4. นำเอกสารใส่ซองปิดผนึก ส่งไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังผู้ออกใบสั่งที่ทำการโต้แย้ง
5. ติดตามผลการโต้แย้งใบสั่งจากในระบบออนไลน์
เตือนภัยคำแนะนำเพิ่มเติม
เป็นไงกันบ้างครับเช็กค่าปรับใบสั่ง ผ่านออนไลน์สะดวกดีใช่ไหม? ครับ แบบนี้ก็ไม่ต้องกังวลว่าจะโดนหมายจับแล้ว ล่ะก็ฝากเตือนภัยกันด้วยนิดนึงหากใครได้รับสายแปลก ๆ แอบอ้างเป็นตำรวจแจ้งว่าเราได้มีใบสั่งค้างในระบบให้ทำตามคำแนะนำทางโทรศัพท์อย่าได้ไปหลงเชื่อเด็ดขาด เพราะตำรวจไม่มีนโยบายในการโทรแจ้งเพื่อทวงการชำระอย่างแน่นอน โดยขั้นตอนการปฏิบัติของตำรวจจะออกใบสั่ง ที่มีแถบบาร์โค้ดเพื่อใช้ยืนยันการชำระ แจ้งให้ทราบทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับเท่านั้น หากยังไม่ชำระค่าปรับภายในกำหนด จะออกใบเตือนส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียรตอบรับเช่นเดียวกัน หากยังไม่ชำระจะมีการออกหมายเรียกโดยจะเน้นไปยังผู้ที่กระทำผิดซ้ำซาก (ได้ใบสั่งในจุดเดิม ๆ หลายใบ หรือเป็นสาเหตุหลักในการเกิดอุบัติเหตุ) หากโดนหมายเรียกครบ 2 ครั้ง ยังไม่มาแสดงตัวกับตำรวจ จะถูกส่งพยานหลักฐานเพื่อขอหมายศาลอนุมัติออกหมายจับ รู้แบบนี้แล้วคงไม่โดนหลอกเอาได้แล้วนะครับ ไปตรวจสอบข้อมูลกันได้อย่างสบายใจได้เลยครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น